วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

Sirirajbhimuk Museum

ประวัติศาสตร์นอกตำรา
พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน

พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน

            อีกฝากหนึ่งของริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่เรียกว่า  “วังหลัง”  สถานที่อันโด่งดังที่ใครๆต่างก็รู้จักและแวะมาเยี่ยมเยียมกัรอยู่บ่อยๆ  ทั้งในนาม “ตลาดวังหลัง”  "โรงพยาบาลศิริราช”  และอื่นๆ  แต่จะมีใครบ้างที่สามารถบอกที่มาของคำว่า “วังหลัง” ได้ว่าคำนี้หรือสถานที่นี้มีความสำคัญอย่างไรในทางประวัติศาสตร์และทำไมจึงมาเป็นตลาดหรือโรงพยาบาลแทน  และความเป็นรั้วเป็นวังหายไปไหน  แน่นอนน้อยคนที่จะตอบได้  เราเลยพาพวกคุณไปรู้จักกับพิพิธภัณฑ์อีกแห่งที่แอบซ่อนตัวอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลศิริราช ในนามว่า  “พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน ที่ตอบคำถามดังกล่าวได้เกือบจะครบถ้วน

พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน
      พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน  เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ภายใต้โครงการ  สถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  โดยใช้พื้นที่อาคารสถานีรถไฟธนบุรี(เดิม) บริเวณปากคลองบางกอกน้อย  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินจำนวน 33 ไร่  ที่ได้รับมอบจากการรถไฟแห่งประเทศไทย

      พื้นที่แห่งนี้มีความสำคัญอันเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์อย่างยาวนานตั้งแต่สมัยอยุธยา ด้วยเป็นส่วนหนึ่งของเมือง บางกอก  ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านและเป็นทางผ่านของบรรดาสำเภาที่เดินทางเข้าไปค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา  และทวีความสำคัญยิ่งขึ้นในสมัยกรุงธนบุรี มีการสร้างกำแพงเมืองและป้อมปราการอย่างแข็งแรง

      ครั้นถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  พื้นที่ด้านใต้ของปากคลองบางกอกน้อย ลงไปถึงวัดระฆังโฆษิตาราม เป็นที่รู้จักกันในชื่อ  วังหลัง”   ด้วยเคยเป็นที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขหรือกรมพระราชวังหลัง  ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระปฐมกษัตริย์แห่งบรมราชจักรีวงศ์  ทรงเป็นกรมพระราชวังหลังองค์เดียวในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์  กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข
      
       ที่ดินผืนนี้ถูกปรับเปลี่ยนไปตามเหตุการณ์ต่างๆ กระทั่งถึง พ.ศ. 2443 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้ใช้ที่ดินนี้สร้างเป็นสถานีรถไฟบางกอกน้อย ซึ่งอยู่ใกล้กับโรงพยาบาลศิริราช และต้นทางของเส้นทางรถไฟสายใต้กระทั่งถึงปัจจุบัน

คงเหลือแต่ชื่อ "บวรสถานพิมุข"
      เมื่อคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลเริ่มโครงการสถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช  เพื่อมุ่งสู่ความเป็นสถาบันทางการแพทย์ชั้นเลิศ คณะฯ เห็นความสำคัญของพื้นที่ประวัติศาสตร์แห่งนี้ จึงร่วมกับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ทำการศึกษาทางโบราณคดี ตั้งแต่เดือนเมษายน ตุลาคม พ.ศ. 2551 พบหลักฐานทางโบราณคดีต่างๆ เช่น ฐานป้อมบางส่วน ซากเรือไม้ และภาชนะดินเผา คณะฯ ได้นำความกราบบังคมทูลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีและมีพระราชวินิจฉัย ให้อนุรักษ์หลักฐานทางโบราณคดีเพื่อจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ต่อไป

      นั้นก็คือประวัติความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สามารถนำไปบูรณาการและนำไปปรับใช้ร่วมกับวิชาประวัติศาสตร์ได้ทุกระดับชั้น  ภายในเป็นการจัดนิทรรศการแบบการเรียนรู้ที่มุ่งให้ความรู้เป็นหลักและมีความน่าสนใจมากในการจัดรูปแบบที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก  ต่อไปเราจะพาไปชมว่าภายในพิพิธภัณฑ์นี้มีอะไรบ้าง
      ที่แรกคือ อาคารพิพิธภัณฑ์ 1 ประกอบด้วยห้องจัดแสดง คือ
      ชั้นที่ 1

ห้องศิริสารประพาส 
              1. ศิริสารประพาส : นำเสนอสาระของพิพิธภัณฑ์วีดิทัศน์และสิ่งแสดง  ในห้องจัดบรรยากาศคล้ายห้องสมุด  สัมผัสเก้าอี้นั่งไม้สักทองที่นักศึกษาแพทย์หลายรุ่นเคยใช้นั่งเรียนมาก่อน

ห้องศิริราชขัตติยพิมาน
              2. ศิริราชขัตติยพิมาน : เป็นส่วนจัดแสดงพระบรมสาทิสลักษณ์ พระสาทิสลักษณ์ พระราชดำรัส พระราชเสาวนีย์ และพระดำรัส ในพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ผู้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณและพระกรุณาธิคุณต่อโรงพยาบาลศิริราชและการแพทย์ของประเทศไทยมายาวนาน

อนุรักษ์เทเวศร์กิตติประกาศ
พระศรีเมือง
              
ไซ่ฮั่น












               3. สถานพิมุขมงคลเขต : เป็นห้องที่เราสนใจที่สุด เป็นห้องที่ถ่ายทอดพระราชประวัติกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขที่นำเสนอผ่านภาพจิตรกรรมไทยชื่อ อนุรักษ์เทเวศร์กิตติประกาศเป็นภาพจิตรกรรมไทยแบบประเพณีพร้อมเสียงบรรยายด้วยทำนองเสนาะมีแสงสีดูน่าตื่นตาตื่นใจไปอีก  และจัดแสดงหุ่นละครพระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง พระศรีเมืองและให้ตวามรู้วรรณคดีเรื่อง ไซ่ฮั่น


ฐานป้อม




พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9











เครื่องถ้วยโบราณ

              4. ฐานป้อม : หลักฐานทางโบราณคดีเพียงชิ้นเดียวอายุยาวนาม 200 กว่าปี  ที่ยืนยันถึงตำแหน่งที่ตั้งของ พระราชวังบวรสถานพิมุข(วังหลัง) ตามตำนานวังเก่าของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชนุภาพโดยการนำเสนอผ่านวิดีทัศน์  และยังมีการจัดแสดงเครื่องถ้วยโบราณที่ขุดพบพร้อมกันด้วยรวมไปถึงยังจัดแสดงแผนที่เมืองธนบุรี


ราชศัสตราโบราณ ได้รับมอบจาก ราชสกุล เสนีวงศ์
             

5. โบราณราชศัสตรา : จัดแสดงศาสตราวุธหลากหลายชนิดหลายชาติพันธุ์อันทรงคุณค่า ที่คณะแพทยศาสตร์ฯ ได้รับมอบจากราชสกุล เสนีวงศ์ (นามสกุลเราเอง) เป็นราชสกุลสืบเชื้อสายจากกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข  และมีการนำเสนอผ่านวีดิทัศน์ขั้นตอนการบูรณะศาสตราวุธ  แต่ห้องนี้ห้ามถ่ายรูป !!!! และมีการนำเสนอพระกรณียกิจด้านราชการศึกสงคราม ในศึกท่าดินแดง พ.ศ. 2329 ซึ่งเป็นสงครามที่กรมพระราชวังบวรสถานพิมุขตามเสด็จไปทำสงครามด้วยผ่านวิดีทัศน์เช่นกัน

ห้องฉายภาพยนต์ 4 มิติ
              6. คมนาคมบรรหาร : จัดแสดงประวัติสถานีรถไฟธนบุรี ประกอบด้วยห้องฉายภาพยนตร์สี่มิติ มีแจกแว่นประกอบการเข้าชม ดูไปเหมือนเข้าไปร่วมในเหตุการณ์ มโนว่าตัวเองเป็นอังศุมาลินในคู่กรรม
      ชั้นที่ 2

ศิริราชบุราณปวัตติ์
              7. ศิริราชบุราณปวัตติ์ : จัดแสดงเกี่ยวกับกำเนิดโรงพยาบาล การตั้งโรงเรียนแพทย์แห่งแรกในประเทศไทย และในห้องยังมีการจำลองห้องปฏิบัติการ  แสดงอุปกรณ์การสอนที่ใช้ในยุคก่อน  จำลองห้องผ่าตัด (เดินคนเดียวแอบน่ากลัว)

จากไข่มาเป็นตัว กี่เดือนในท้องมารดา



ฤาษีดัดตน










ร้าขายยาครั้นอดีต















             8. สยามรัฐเวชศาสตร์ : จัดแสดงให้เห็นถึงความเจ็บป่วยของมนุษย์ ความมหัศจรรย์ของร่างกายมนุษย์  เหตุแห่งโรค  วิธีการเยียวยาความเจ็บป่วย และบทสรุปของการมีสุขภาพดี ในห้องนี้ยังวิดีทัศน์สาธิตการบริหารกายด้วยวิธีก้าวเต้น-ก้าวตา และท่าฤาษีดัดตน  รวมไปถึงยังมีหุ่นขี้ผึ้งจัดในรูปแบบสถานการณ์ต่างๆ ชวนได้บรรยากาศร่วม


ร้านขายของที่ระลึกและร้านกาแฟ
      พอจบอาคาร 1 ดูท่าฤาษีดัดตนเสร็จก็เดินต่อไปที่อาคาร 2 ซึ่งมีร้านกาแฟทรูขาย เราก็ต้องผ่านเพราะจน !!! 555  จึงเดินลงไปชั้นล่างแล้วไปต่อที่ 

เรือโบราณขนาดใหญ่
อาคารพิพิธภัณฑ์ 3 ชื่อ นิวาสศิรินาเวศ  เป็นอาคารที่จัดแสดงบรรยากาศวิถีชีวิตสองฝั่งคลองบางกอกน้อยในอดีต  มีชาวบางกอกน้อย ชุมชนใกล้เคียงและข้าราชการมาตั้งถิ่นฐาน มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม งานศิลป์ ภูมิปัญญา และความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันแต่ก็ได้หลอมรวมเป็นวิถีชีวิตของชุมชนบางกอกน้อย และจัดแสดงสิ่งแสดงสำคัญที่ขุดค้นพบขณะสำรวทางโบราณคดี คือ เรือโบราณขนาดใหญ่ ที่มีความยาวถึง  24 เมตร 

      สำหรับการเดินทางก็มาได้ทั้งทางบกและทางน้ำ ซึ่งเราก็ไม่รู้จะฮิบายอย่างไรดีเพราะมันมาได้หลายทิศทางมากแต่อยากให้รู้ว่าถ้าจะมาก็ให้โฟกัสมาที่โรงพยาบาลศิริราชเพราะพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับโรงพยาบาลศิริราช  ถ้ามาโรงพยาบาลศิริราชถูกรับรองตั้งถึงพิพิธภัณฑ์แน่อน !!!

      พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถานเปิดให้บริการวันจันทร์,  พุธ – อาทิตย์ เวลา 10.00 – 17. 00 น. (หยุดวันอังคารและวันนักขัตฤกษ์)  ราคาบัตร สำหรับชาวต่างชาติ  200  บาท,  ผู้ใหญ่   
( อายุ 18 ปีขึ้นไป )  80 บาท,  เด็ก (อายุไม่เกิน  18  ปี)  25 บาท  แต่ถ้าเด็กสูงไม่เกิน 120 ซม.  เข้าชมฟรี
ป้ายให้ความรู้

ตู้วิดีทัศน์ตามจุดต่างๆ




     













      
         ในภาพรวมทั้งหมด  เราค่อนข้างชอบมีการจัดนิทรรศการที่หลากหลาย  ทั้งป้ายให้ความรู้  วีดิทัศน์บรรยายและห้องฉายภาพยนตร์สี่มิติทำให้พิพิธภัณฑ์นี้ดูน่าสนใจกว่าที่อื่นๆ  แต่ก็ไม่ค่อยประทับใจตรงที่ไม่ค่อยมีไกด์มาให้ความรู้  บางทีเราอยากจะรู้อะไรที่มากกว่าที่จัดเสนออยู่ก็ถามไถ่ตรงนั้นไม่ได้เลย  อีกอย่างวันนี้ก็ทำให้รู้ว่าคนเป็นไกด์ตามพิพิธภัณฑ์ควรมีความรู้มากกว่านี้  ไม่ใช่ถามอะไรที่นอกกรอบออกไปก็ตอบไม่ได้  รู้สึกแย่นิดนึงตอนเดินไปถามไกด์พอชมเสร็จ

ตราบวรราชสกุลวังหลัง
บวรราชสกุลปาลกะวงศ์  บวรราชสกุลเสนีวงศ์
ภาพจิตรกรรม
กรมพระราชวังหลัง กับพระอัครชายาเจ้าครอกข้างใน หรือ เจ้าครอกทองอยู่ ผู้เชี่ยวชาญในการทำขนมค้างคาว
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา


ขอขอบพระคุณ
               - พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน ด้านข้อมูล ภาพและประสบการณ์ดีดี
               - หนังสือราชสกุลวังหลังและสายสัมพันธ์ จัดพิมพ์เฉลิมพระเกียรติพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                 เนื่องในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี ณ วันจักรี 2539
               - ภาพตึกพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน, ห้องโบราณราชศัตราและภาพจิตรกรรมกรมพระราชวังหลังกับ
                 พระอัครชายา จาก https://www.facebook.com/siriraj.museum
                  - ข้อมูลพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน จาก http://www.posttoday.com