วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

Sirirajbhimuk Museum

ประวัติศาสตร์นอกตำรา
พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน

พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน

            อีกฝากหนึ่งของริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่เรียกว่า  “วังหลัง”  สถานที่อันโด่งดังที่ใครๆต่างก็รู้จักและแวะมาเยี่ยมเยียมกัรอยู่บ่อยๆ  ทั้งในนาม “ตลาดวังหลัง”  "โรงพยาบาลศิริราช”  และอื่นๆ  แต่จะมีใครบ้างที่สามารถบอกที่มาของคำว่า “วังหลัง” ได้ว่าคำนี้หรือสถานที่นี้มีความสำคัญอย่างไรในทางประวัติศาสตร์และทำไมจึงมาเป็นตลาดหรือโรงพยาบาลแทน  และความเป็นรั้วเป็นวังหายไปไหน  แน่นอนน้อยคนที่จะตอบได้  เราเลยพาพวกคุณไปรู้จักกับพิพิธภัณฑ์อีกแห่งที่แอบซ่อนตัวอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลศิริราช ในนามว่า  “พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน ที่ตอบคำถามดังกล่าวได้เกือบจะครบถ้วน

พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน
      พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน  เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ภายใต้โครงการ  สถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  โดยใช้พื้นที่อาคารสถานีรถไฟธนบุรี(เดิม) บริเวณปากคลองบางกอกน้อย  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินจำนวน 33 ไร่  ที่ได้รับมอบจากการรถไฟแห่งประเทศไทย

      พื้นที่แห่งนี้มีความสำคัญอันเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์อย่างยาวนานตั้งแต่สมัยอยุธยา ด้วยเป็นส่วนหนึ่งของเมือง บางกอก  ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านและเป็นทางผ่านของบรรดาสำเภาที่เดินทางเข้าไปค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา  และทวีความสำคัญยิ่งขึ้นในสมัยกรุงธนบุรี มีการสร้างกำแพงเมืองและป้อมปราการอย่างแข็งแรง

      ครั้นถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  พื้นที่ด้านใต้ของปากคลองบางกอกน้อย ลงไปถึงวัดระฆังโฆษิตาราม เป็นที่รู้จักกันในชื่อ  วังหลัง”   ด้วยเคยเป็นที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขหรือกรมพระราชวังหลัง  ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระปฐมกษัตริย์แห่งบรมราชจักรีวงศ์  ทรงเป็นกรมพระราชวังหลังองค์เดียวในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์  กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข
      
       ที่ดินผืนนี้ถูกปรับเปลี่ยนไปตามเหตุการณ์ต่างๆ กระทั่งถึง พ.ศ. 2443 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้ใช้ที่ดินนี้สร้างเป็นสถานีรถไฟบางกอกน้อย ซึ่งอยู่ใกล้กับโรงพยาบาลศิริราช และต้นทางของเส้นทางรถไฟสายใต้กระทั่งถึงปัจจุบัน

คงเหลือแต่ชื่อ "บวรสถานพิมุข"
      เมื่อคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลเริ่มโครงการสถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช  เพื่อมุ่งสู่ความเป็นสถาบันทางการแพทย์ชั้นเลิศ คณะฯ เห็นความสำคัญของพื้นที่ประวัติศาสตร์แห่งนี้ จึงร่วมกับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ทำการศึกษาทางโบราณคดี ตั้งแต่เดือนเมษายน ตุลาคม พ.ศ. 2551 พบหลักฐานทางโบราณคดีต่างๆ เช่น ฐานป้อมบางส่วน ซากเรือไม้ และภาชนะดินเผา คณะฯ ได้นำความกราบบังคมทูลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีและมีพระราชวินิจฉัย ให้อนุรักษ์หลักฐานทางโบราณคดีเพื่อจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ต่อไป

      นั้นก็คือประวัติความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สามารถนำไปบูรณาการและนำไปปรับใช้ร่วมกับวิชาประวัติศาสตร์ได้ทุกระดับชั้น  ภายในเป็นการจัดนิทรรศการแบบการเรียนรู้ที่มุ่งให้ความรู้เป็นหลักและมีความน่าสนใจมากในการจัดรูปแบบที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก  ต่อไปเราจะพาไปชมว่าภายในพิพิธภัณฑ์นี้มีอะไรบ้าง
      ที่แรกคือ อาคารพิพิธภัณฑ์ 1 ประกอบด้วยห้องจัดแสดง คือ
      ชั้นที่ 1

ห้องศิริสารประพาส 
              1. ศิริสารประพาส : นำเสนอสาระของพิพิธภัณฑ์วีดิทัศน์และสิ่งแสดง  ในห้องจัดบรรยากาศคล้ายห้องสมุด  สัมผัสเก้าอี้นั่งไม้สักทองที่นักศึกษาแพทย์หลายรุ่นเคยใช้นั่งเรียนมาก่อน

ห้องศิริราชขัตติยพิมาน
              2. ศิริราชขัตติยพิมาน : เป็นส่วนจัดแสดงพระบรมสาทิสลักษณ์ พระสาทิสลักษณ์ พระราชดำรัส พระราชเสาวนีย์ และพระดำรัส ในพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ผู้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณและพระกรุณาธิคุณต่อโรงพยาบาลศิริราชและการแพทย์ของประเทศไทยมายาวนาน

อนุรักษ์เทเวศร์กิตติประกาศ
พระศรีเมือง
              
ไซ่ฮั่น












               3. สถานพิมุขมงคลเขต : เป็นห้องที่เราสนใจที่สุด เป็นห้องที่ถ่ายทอดพระราชประวัติกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขที่นำเสนอผ่านภาพจิตรกรรมไทยชื่อ อนุรักษ์เทเวศร์กิตติประกาศเป็นภาพจิตรกรรมไทยแบบประเพณีพร้อมเสียงบรรยายด้วยทำนองเสนาะมีแสงสีดูน่าตื่นตาตื่นใจไปอีก  และจัดแสดงหุ่นละครพระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง พระศรีเมืองและให้ตวามรู้วรรณคดีเรื่อง ไซ่ฮั่น


ฐานป้อม




พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9











เครื่องถ้วยโบราณ

              4. ฐานป้อม : หลักฐานทางโบราณคดีเพียงชิ้นเดียวอายุยาวนาม 200 กว่าปี  ที่ยืนยันถึงตำแหน่งที่ตั้งของ พระราชวังบวรสถานพิมุข(วังหลัง) ตามตำนานวังเก่าของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชนุภาพโดยการนำเสนอผ่านวิดีทัศน์  และยังมีการจัดแสดงเครื่องถ้วยโบราณที่ขุดพบพร้อมกันด้วยรวมไปถึงยังจัดแสดงแผนที่เมืองธนบุรี


ราชศัสตราโบราณ ได้รับมอบจาก ราชสกุล เสนีวงศ์
             

5. โบราณราชศัสตรา : จัดแสดงศาสตราวุธหลากหลายชนิดหลายชาติพันธุ์อันทรงคุณค่า ที่คณะแพทยศาสตร์ฯ ได้รับมอบจากราชสกุล เสนีวงศ์ (นามสกุลเราเอง) เป็นราชสกุลสืบเชื้อสายจากกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข  และมีการนำเสนอผ่านวีดิทัศน์ขั้นตอนการบูรณะศาสตราวุธ  แต่ห้องนี้ห้ามถ่ายรูป !!!! และมีการนำเสนอพระกรณียกิจด้านราชการศึกสงคราม ในศึกท่าดินแดง พ.ศ. 2329 ซึ่งเป็นสงครามที่กรมพระราชวังบวรสถานพิมุขตามเสด็จไปทำสงครามด้วยผ่านวิดีทัศน์เช่นกัน

ห้องฉายภาพยนต์ 4 มิติ
              6. คมนาคมบรรหาร : จัดแสดงประวัติสถานีรถไฟธนบุรี ประกอบด้วยห้องฉายภาพยนตร์สี่มิติ มีแจกแว่นประกอบการเข้าชม ดูไปเหมือนเข้าไปร่วมในเหตุการณ์ มโนว่าตัวเองเป็นอังศุมาลินในคู่กรรม
      ชั้นที่ 2

ศิริราชบุราณปวัตติ์
              7. ศิริราชบุราณปวัตติ์ : จัดแสดงเกี่ยวกับกำเนิดโรงพยาบาล การตั้งโรงเรียนแพทย์แห่งแรกในประเทศไทย และในห้องยังมีการจำลองห้องปฏิบัติการ  แสดงอุปกรณ์การสอนที่ใช้ในยุคก่อน  จำลองห้องผ่าตัด (เดินคนเดียวแอบน่ากลัว)

จากไข่มาเป็นตัว กี่เดือนในท้องมารดา



ฤาษีดัดตน










ร้าขายยาครั้นอดีต















             8. สยามรัฐเวชศาสตร์ : จัดแสดงให้เห็นถึงความเจ็บป่วยของมนุษย์ ความมหัศจรรย์ของร่างกายมนุษย์  เหตุแห่งโรค  วิธีการเยียวยาความเจ็บป่วย และบทสรุปของการมีสุขภาพดี ในห้องนี้ยังวิดีทัศน์สาธิตการบริหารกายด้วยวิธีก้าวเต้น-ก้าวตา และท่าฤาษีดัดตน  รวมไปถึงยังมีหุ่นขี้ผึ้งจัดในรูปแบบสถานการณ์ต่างๆ ชวนได้บรรยากาศร่วม


ร้านขายของที่ระลึกและร้านกาแฟ
      พอจบอาคาร 1 ดูท่าฤาษีดัดตนเสร็จก็เดินต่อไปที่อาคาร 2 ซึ่งมีร้านกาแฟทรูขาย เราก็ต้องผ่านเพราะจน !!! 555  จึงเดินลงไปชั้นล่างแล้วไปต่อที่ 

เรือโบราณขนาดใหญ่
อาคารพิพิธภัณฑ์ 3 ชื่อ นิวาสศิรินาเวศ  เป็นอาคารที่จัดแสดงบรรยากาศวิถีชีวิตสองฝั่งคลองบางกอกน้อยในอดีต  มีชาวบางกอกน้อย ชุมชนใกล้เคียงและข้าราชการมาตั้งถิ่นฐาน มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม งานศิลป์ ภูมิปัญญา และความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันแต่ก็ได้หลอมรวมเป็นวิถีชีวิตของชุมชนบางกอกน้อย และจัดแสดงสิ่งแสดงสำคัญที่ขุดค้นพบขณะสำรวทางโบราณคดี คือ เรือโบราณขนาดใหญ่ ที่มีความยาวถึง  24 เมตร 

      สำหรับการเดินทางก็มาได้ทั้งทางบกและทางน้ำ ซึ่งเราก็ไม่รู้จะฮิบายอย่างไรดีเพราะมันมาได้หลายทิศทางมากแต่อยากให้รู้ว่าถ้าจะมาก็ให้โฟกัสมาที่โรงพยาบาลศิริราชเพราะพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับโรงพยาบาลศิริราช  ถ้ามาโรงพยาบาลศิริราชถูกรับรองตั้งถึงพิพิธภัณฑ์แน่อน !!!

      พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถานเปิดให้บริการวันจันทร์,  พุธ – อาทิตย์ เวลา 10.00 – 17. 00 น. (หยุดวันอังคารและวันนักขัตฤกษ์)  ราคาบัตร สำหรับชาวต่างชาติ  200  บาท,  ผู้ใหญ่   
( อายุ 18 ปีขึ้นไป )  80 บาท,  เด็ก (อายุไม่เกิน  18  ปี)  25 บาท  แต่ถ้าเด็กสูงไม่เกิน 120 ซม.  เข้าชมฟรี
ป้ายให้ความรู้

ตู้วิดีทัศน์ตามจุดต่างๆ




     













      
         ในภาพรวมทั้งหมด  เราค่อนข้างชอบมีการจัดนิทรรศการที่หลากหลาย  ทั้งป้ายให้ความรู้  วีดิทัศน์บรรยายและห้องฉายภาพยนตร์สี่มิติทำให้พิพิธภัณฑ์นี้ดูน่าสนใจกว่าที่อื่นๆ  แต่ก็ไม่ค่อยประทับใจตรงที่ไม่ค่อยมีไกด์มาให้ความรู้  บางทีเราอยากจะรู้อะไรที่มากกว่าที่จัดเสนออยู่ก็ถามไถ่ตรงนั้นไม่ได้เลย  อีกอย่างวันนี้ก็ทำให้รู้ว่าคนเป็นไกด์ตามพิพิธภัณฑ์ควรมีความรู้มากกว่านี้  ไม่ใช่ถามอะไรที่นอกกรอบออกไปก็ตอบไม่ได้  รู้สึกแย่นิดนึงตอนเดินไปถามไกด์พอชมเสร็จ

ตราบวรราชสกุลวังหลัง
บวรราชสกุลปาลกะวงศ์  บวรราชสกุลเสนีวงศ์
ภาพจิตรกรรม
กรมพระราชวังหลัง กับพระอัครชายาเจ้าครอกข้างใน หรือ เจ้าครอกทองอยู่ ผู้เชี่ยวชาญในการทำขนมค้างคาว
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา


ขอขอบพระคุณ
               - พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน ด้านข้อมูล ภาพและประสบการณ์ดีดี
               - หนังสือราชสกุลวังหลังและสายสัมพันธ์ จัดพิมพ์เฉลิมพระเกียรติพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                 เนื่องในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี ณ วันจักรี 2539
               - ภาพตึกพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน, ห้องโบราณราชศัตราและภาพจิตรกรรมกรมพระราชวังหลังกับ
                 พระอัครชายา จาก https://www.facebook.com/siriraj.museum
                  - ข้อมูลพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน จาก http://www.posttoday.com

วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556

TECHNO - MARKET

Techno - market
เทคโนโลยีกับสังคมแห่งการเรียนรู้

       เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2556 เราได้มีโอกาสไปเข้าร่วมงาน TECHNO SHOWCASE ซึ่งจัดที่ชั้น 1 อาคารนวัตกรรม ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ รูปแบบของงานเป็นไปทางด้านการศึกษา โดยให้ความสำคัญไปที่การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งกำลังเป็นกระแสที่คนในสังคมให้ความสนใจกันอย่างมาก



       บรรยากาศภายในงานจะจัดเป็นซุ้ม แต่ละซุ้มก็จะมีแหล่งความรู้ที่แตกต่างกันออกไปและมีสิ่งที่น่าตื่นเต้น ตื่นตาตื่นใจหลายอย่างมาก อารมณ์แบบตลาดนัดวิชาการ 555 แต่เป็น “ตลาดนัดเทคโนโลยี” แทนที่มีสินค้าในรูปแบบวัสดุ อุปกรณ์ เข้ามาแทนสะส่วนใหญ่ซึ่งดึงดูดผู้เข้าร่วมงานอย่างมาก ถ้าจะถามว่าชื่นชอบซุ้มไหนมากที่สุด ขอตอบเลยว่าซุ้ม TECH FOR TEACH เป็นซุ้มเกี่ยวกับการผลิตสื่อการเรียนการสอนในห้องเรียน



       เพราะอะไรจึงชอบซุ้มนี้ ? เพราะรู้สึกว่าการผลิตสื่อไปประกอบในชั้นเรียนนั้นสำคัญมากโดยเฉพาะสมัยปัจจุบันซึ่งเป็น “สังคมยุคการเรียนรู้” ทุกคนต่างต้องการรับข้อมูลข่าวสารเป็นจำนวนมากแต่ช่องทางกลับมีไม่เพียงพอสำหรับทุกคน จึงต้องนำเทคโนโลยีมาช่วยในเรื่องการผลิตสื่อเพื่อตอบสนองความต้องการของคนจำนานมาก


       “สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการซึ่งถูกนำมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะและเจตคติจากผู้สอน หรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียนช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้”



       สื่อนับว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากเป็นสื่อกลางการเรียนรู้ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนให้เข้าใจตรงกันและถูกต้องตามจุดประสงค์ที่ต้องการ รวมไปถึงสื่อยังเป็นตัวกลางให้ครูและนักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้นด้วย ทำให้ครูได้เรียนรู้เด็ก ในทางกลับกันนักเรียนก็จะเกิดความไว้วางใจครู




























       เราจะขอยกตัวอย่างสื่อประกอบการสอน เช่น มีหนังสือเล่มหนึ่งตรงกลางจะเป็น จิ๊กซอของแผนที่แต่ละทวีปที่ให้นักเรียนไปต่อให้ถูกต้องและข้างๆเมื่อเปิดไปแต่ละหน้าก็จะเป็นความรู้เกี่ยวทวีปนั้นๆไป (เหมาะกับครูสังคมอย่างเรามาก อยากขอกลับบ้าน) หรือจะเป็นบันไดจรวดตะลุยอวกาศ ที่ชวนนึกย้อนวันวานสมัยนั่งเล่นเกมส์บันไดงูกับเพื่อนข้างบ้าน 555 ซึ่งกติกาก็คล้ายๆกับเกมส์บันไดงูที่เล่นสมัยเด็กๆ แต่ถ้าเดินไปช่องที่มีรูปเครื่องหมายคำถาม ( ? ) ก็ต้องตอบคำถามที่กำหนดไว้ให้ได้ เป็นต้น















       สุดท้ายเราคิดว่านิทรรศการที่จัดขึ้นในครั้งนี้ล้วนเป็นการเปิดโลกทัศน์ของเราและคนอื่นๆที่ได้เข้ามาชมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องเทคโนโลยีที่นำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนที่อยู่ในยุคสังคมแห่งการเรียนรู้ ภาพรวมให้ผ่าน !!!! ชอบๆๆๆๆ อยากให้ปีหน้าจัดงานที่มีสาระความรู้เช่นงานนี้ต่อและทำไปเรื่อยๆ นับว่าเป็นวิทยาทานแก่นิสิตและผู้คนในสังคมต่อไป...





ที่มา : งานนิทรรศการ “TECHNO SHOWCASE” ณ ชั้น 1 อาคารนวัตกรรม ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วันที่ 15 สิงหาคม 2556



วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

THE MAGIC MIRROR

THE MAGIC MIRROR
สมาร์ททีวี 

“เหนื่อย เหนื่อย ขอพักจากการอ่านหนังสือบ้างเถอะ” แมมมอธบ่นออกมา “ขอเปิดทีวีดูหน่อยละกัน ผ่อนคลายรางวัลของความขยันในวันนี้”
       ระหว่างที่แมมมอธกำลังดูทีวีอยู่ เทพีอธีน่าก็ปรากฏตัวขึ้นมา
“อ้าววว เด็กน้อยของเรา ไงจึงมานั่งส่องกระจกอยู่อย่างนี้ ไม่อ่านหนังสือหรอ เดี่ยวทำข้อสอบไม่ได้นะ” อธีน่ากล่าว “แม้ว่าเราจะเป็นเทพแห่งสติปัญญา เราก็จะไม่ช่วยเจ้าแน่นอน”
“อธีน่า แมมมอธขอพักบ้างเถอะนะ อ่านมาทั้งวันแล้ว เบื่อ !!!
“เหนื่อยแล้วทำไมไม่นอน พักผ่อนสิ จะได้มีแรง เอาแต่มานั่งส่องกระจก จะได้ประโยชน์อะไรขึ้นมา”
แมมมอธทำหน้าฉงนและหัวเราะออกมา “อธีน่า มันไม่ใช่กระจกหรอกนะ เทพีอย่างเจ้าไม่รู้หรอว่ามนุษย์อย่างเราพัฒนาไปไกลขนาดไหนแล้ว สิ่งนี้เขาเรียกว่า ทีวี” แมมมอธเปิดทีวีไปมา ด้วยความสนุกสนานแต่อธีน่ายืนงง
“ไม่นะ มันคือกระจกวิเศษ ใช่ แน่ๆ” อธีน่าพูดทั้งน้ำเสียงที่ตกใจ “มนุษย์สร้างกระจกวิเศษนี้ได้อย่างไร เทพองค์ใดประทานพรให้”
“มันเรียกว่า ทีวี ไม่ใช่กระจกวิเศษ” แมมมอธตอบกลับ “เดี่ยวเราจะเล่าให้ฟัง”



“ทีวีเนี่ย เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์กันเอง” แมมมอธอธิบายให้เทพีอธีน่าฟัง “เอาง่ายๆนะ มันมีไว้ดูติดตามข่าวสาร ดูละคร คือถ้าอย่างพวกทวยเทพก็จะมีคนมาแสดงละครให้ดูหรือมาเล่าข่าวสารให้ฟังอย่างไม่พลาด แต่มนุษย์อย่างเราไม่มีอย่างนั้นจึงต้องสร้างทีวีเพื่อตอบสนองคนหมู่มาก”
“อ๋อ...”
วิวัฒนาการเทคโนโลยีในเรื่องเกี่ยวกับตัวทีวี นั้นเริ่มจากทีวียุคขาวดำ จอโค้งๆ เปลี่ยนช่องทีต้องเดินไปหมุนช่องเอา มาเป็นทีวีจอแบน เริ่มมีสีสัน ใช้รีโมทคอนโทรลในการกดเปลี่ยนช่อง แถมมีหลายขนาดตั้งแต่ขนาดเล็ก จนถึงขนาดใหญ่ แต่ปัจจุบันนี้ทีวีมีรุ่นใหม่ๆจะมีความสามารถเพิ่มขึ้น คุณภาพของภาพที่สูงขึ้น ความสามารถเริ่มไปในทางเดียวกันกับคอมพิวเตอร์ หรือมือถือสมาร์ทโฟนมากขึ้น ซึ่งเป็นอีกก้าวหนึ่งของเทคโนโลยีของทีวี ที่เรียกว่า สมาร์ททีวี ( Smart TV )” แมมมอธพูดด้วยความภูมิใจที่สามารถพิชิตเทพีแห่งสติปัญญาได้


สมาร์ททีวี เป็นการผนวกความสามารถของทีวี คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต ไว้ในจอเดียวกัน สามารถรับชมสิ่งๆต่างนอกเหนือจากทีวีได้ เช่น เล่นเกม , ดูวีดีโอ youtube , โพส facebook twitter ,  คุยกับเพื่อนผ่านทาง Skype , อ่านข่าวบนเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ผ่านทางทีวีได้เลย พร้อมๆกับการรับชมรายการโทรทัศน์ปกติ และบางรุ่นจะรองรับการแสดงภาพแบบ 3 มิติได้ด้วย อีกอย่างมันสะดวกมากขึ้นด้วยที่รวมเอาอุปกรณ์เกือบทุกอย่างมาไว้ในหนึ่งเดียว เช่น อยากคุย Skype ก็ไม่ต้องไปเปิดคอมพิวเตอร์ มาใช้สมาร์ททีวีแทน”
“ทำไมประโยชน์ของกระจกวิเศษหรือไอเจ้าทีวี มันมีเยอะจัง” อธีน่าสงสัย
“ก็เพราะมนุษย์เราเรียนรู้จากความลำบาก หาวิธีทางให้อยู่อย่างสบายมากขึ้น จึงคิดค้นและประดิษฐ์สิ่งอำนวยความสะดวกขึ้นมาตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานต่างๆ” แมมมอธตอบ “และประโยชน์ของมันที่สำคัญที่สุด อธีน่าเธอรู้ไหม เราให้เธอทาย ?
“เฉลยเถอะ ! ” อธีน่าเหวี่ยง
“มันเป็นอุปกรณ์ศูนย์กลางของบ้านที่ทำให้ทุกคนได้มีกิจกรรมร่วมกัน เชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีๆแก่กัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน”
“น้ำตาเราจะไหล”

“อธีน่า สมาร์ททีวีนี้ มันก็อาจจะเป็นกระจกวิเศษอย่างที่ว่าก็ได้นะ”